วงการอีสปอร์ตในประเทศไทย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกได้เห็นกระแสความนิยมของเกมการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งก้าวข้ามขอบเขตของกีฬาแบบดั้งเดิม ในรูปแบบของ “กีฬาอิเล็กทรอนิกส์” หรือ “อีสปอร์ต” ประเทศผู้นำปรากฏการณ์ที่กำลังสร้างกระแสไปทั่วโลกนี้คือประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่โลกแห่งอีสปอร์ตที่มีชีวิตชีวาได้หยั่งรากและเบ่งบานท่ามกลางวัฒนธรรมทุกระดับของสังคม ในขณะที่ประเทศกำลังอ้าแขนต้อนรับยุคดิจิทัล อุตสาหกรรมอีสปอร์ตของไทยได้กลายเป็นพลังที่ต้องจับตามอง ดึงดูดใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และท้าทายแนวคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับความบันเทิง เพราะเสน่ห์ของอีสปอร์ตไม่ได้อยู่ที่รูปแบบการเล่นที่น่าตื่นเต้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโอกาสที่มอบให้กับผู้เล่น ผู้ที่ชื่นชอบ และผู้ประกอบการด้วย ด้วยจำนวนประชากรที่อายุน้อยและเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ประเทศไทยจึงมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์สำหรับการบ่มเพาะซูเปอร์สตาร์เกมรุ่นต่อไปและผู้มีแนวคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ในขณะที่ความสามารถในท้องถิ่นยังคงปรากฏและการยอมรับในระดับนานาชาติก็ขยายออกไป ฉากอีสปอร์ตของประเทศกำลังพัฒนาไปสู่แหล่งเพาะพันธุ์สำหรับเรื่องราวความสำเร็จและความฝันที่เป็นจริง

วงการอีสปอร์ตในประเทศไทย

ส่วนมาก เกมอีสปอร์ตยอดนิยมในประเทศไทยจะเป็นเกมแนว first-person shooting หรือเกมยิงปืนมุมมองบุคคลที่หนึ่ง อาทิ Counter Strike: Global Offensive, Valorant, Overwatch 2 แต่ก็ยังปรากฎกลิ่นอายของเกมสไตล์ Massively multiplayer online role-playing game หรือเกมออนไลน์ผู้เล่นจำนวนมากแบบเล่นตามบทบาท อาทิ DOTA 2, League of Legends, Arena of Valor  เกมสไตล์ battle royale หรือแนวต่อสู้และเอาชีวิตรอด อย่าง PlayerUnknown’s Battleground หรือ PUBG, Free Fire และ Apex Legends หรือแม้กระทั่งเกมฟุตบอลอย่าง FIFA 23

csgo โลโก้
CS:GO
League of legends รูปภาพ
LoL
Dota 2 โลโก้
DOTA 2
EA Sports FC24
csgo โลโก้

Counter Strike: Global Offensive (CS:GO)

CS:GO เกมยิงปืนมุมมองบุคคลที่หนึ่งสุดคลาสสิคภายใต้แฟรนไชส์ CS (2000 – ปัจจุบัน) จากค่ายเกมตำนานอย่าง Valve เปิดให้เล่นกันตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2012 และยังคงได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2023 นี้ เกมได้เเปรสภาพมาเป็นเกม free-to-play ให้ทุกคนได้เข้ามาสนุกกัน แถมยังมีข่าวดีออกมาว่าจะมีการพัฒนาเกมภาคต่อในชื่อ Counter Strike 2 ออกมาให้เล่นภายในปีนี้กันอีกด้วย ล่าสุดในเดือนพฤษภาคม มีข้อมูลออกมาว่าเกมมีผู้เล่นในรอบ 30 วันเฉลี่ยเกิน 1 ล้านคนต่อวันเข้าไปแล้ว

Valorant โลโก้

VALORANT

VALORANT ถือเป็นเกมหน้าใหม่ในรายชื่อเกมยอดฮิตประจำปี 2023 เนื่องจากยังมีอายุครบ 3 ปีไปหมาด ๆ แต่กลับสามารถสร้างฐานผู้เล่นแตะหลักเดือนละ 18-19 ล้านคนได้อย่างต่อเนื่อง และยังคงมีเกมเมอร์เข้าเล่นเกมแตะหลัก 7 แสนคนในแต่ละวัน อย่างไรก็ดี สังคมเกม VALORANT นั้นเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของความ toxic หรือความหยาบคายของผู้เล่น โดยมีผู้ใช้งานเกือบ 80% รายงานว่าเคยได้รับคำพูดหยาบคายจากผู้เล่นคนอื่น ๆ

Overwatch โลโก้

Overwatch 2

มาพบกับ Overwatch 2 เกมยิงปืนมุมมองบุคคลที่หนึ่งโฉมใหม่ล่าสุดซึ่งเป็นภาคต่อของ Overwatch (2016) ที่ผู้เล่นจะได้สวมบทบาทเป็นฮีโร่มากถึง 35 คนเพื่อต่อสู้กันในหลากหลายรูปแบบการเล่น ไม่ว่าจะเป็นโหมด Assault สำหรับเกมแนวยึดฐาน โหมด Escort สำหรับเกมแนวขนของ หรือโหมดใหม่ล่าสุดอย่างโหมด Push ซึ่งเป็นเกมแนวขนของแบบกลับด้าน คือ ผู้เล่นจะต้องผลักของเข้าไปให้ถึงจุดหมายหรือไกลกว่าอีกฝ่ายในเขตแดนของฝ่ายตรงข้ามเพื่อคว้าชัยชนะ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีผู้เล่นมากถึง 26 ล้านคน หรือราว ๆ วันละเกือบ 9 แสนคน

Dota 2 โลโก้

DOTA 2

มาถึงเกมตลอดกาลที่ไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณสมบัติและประวัติที่มาให้มากความ แม้จะอายุใกล้ครบ 10 ปีแล้วแต่ DOTA 2 ก็ยังมีฐานผู้เล่นสูงมากกว่า 14 ล้านคนต่อเดือน และรายการแข่งขันอีสปอร์ตระดับโลกที่ได้รับความนิยมอย่างสูงอย่าง The International ที่เป็นรายการอีสปอร์ตเงินรางวัลอู้ฟู่ที่สุดในโลกด้วยเม็ดเงินรางวัลกว่า 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,400 ล้านบาท

League of legends รูปภาพ

League of Legends

เกมคู่แข่งตัวฉกาจของ DOTA 2 ก็คือเกมรุ่นพี่อย่าง League of Legends ที่เปิดให้เกมเมอร์ทั่วโลกได้เล่นตั้งแต่ปี 2009 หรือเกิน 13 ปีมาแล้ว และในปัจจุบัน League of Legends ก็ยังคงครองตำแหน่งหนึ่งในเกมที่มีฐานผู้เล่นใหญ่ที่สุดในปี 2023 ด้วยยอดผู้เล่นประจำเดือนพฤษภาคมที่สูงเกือบ 150 ล้านคน เกมมีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางมากในแทบทุกอุตสาหกรรม ทั้งดนตรี รายการสื่อบน Netflix หนังสือการ์ตูน รวมถึงรายการแข่งขันที่มีฐานผู้เข้าชมสูงกว่ารายการกีฬาจริงบางประเภทเสียด้วยซ้ำ

Arena of valor โลโก้

Arena of Valor

มาถึงเกม MMORPG ยอดฮิตประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง Arena of Valor หรือ ROV ซึ่งได้รับความนิยมจนถูกนำไปแข่งในรายการกีฬาของภูมิภาคอย่างรายการซีเกมส์ (SEA Games) ในปี 2019, 2021, และ 2023 รวมถึงปรากฎในรายการเอเชียนเกมส์ปี 2018 และ 2022 อีกด้วย ฐานผู้เล่นที่สูงแตะระดับ 17 ล้านคนในเดือนพฤษภาคมและ 1 ล้านคนต่อวันอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงความนิยมในประเทศไทย ทำให้ ROV เป็นเกมที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังจะเริ่มเข้าสู่วงการเกมออนไลน์และอีสปอร์ต

pubg โลโก้

PUBG

เกม Battle Royale ยอดนิยมของคนไทยที่เล่นได้ทั้งในคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพา PUBG หรือ PlayerUnknown’s Battlegrounds เป็นเกมยอดนิยมของคนไทยทั้งสำหรับการเล่นเพื่อความผ่อนคลายและเพื่อการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น PUBG หรือ PUBG Mobile ต่างก็ปรากฎรายการแข่งขันมากมายในประเทศไทย สำหรับจำนวนผู้เล่นนั้น คาดว่าเกม PUBG มียอดผู้เล่นในเดือนพฤษภาคมสูงถึง 288 ล้านคน หรือราว ๆ 18-19 ล้านคนต่อวัน ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่าเกมยังสามารถดึงดูดผู้เล่นได้อย่างสม่ำเสมอ

Free fire โลโก้

Free Fire

เช่นเดียวกับ DOTA-LoL เกมตระกูล batle royale เองก็มีการแข่งขันระหว่างยักษ์ใหญ่ 2 ฝั่งเช่นกัน คือ PUBG และ Free Fire โดย Free Fire ซึ่งได้รับการพัฒนาจาก Garena บริษัทเกมสัญชาติสิงคโปร์ เกมมีชื่อเสียงโด่งดังจากการร่วมงานกับแบรนด์และดาราดังระดับโลกหลายคน เช่น คริสเตียโน โรนัลโด, วง BTS, หรือภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่าง Spider-Man: Across the Spider-Verse และถึงแม้เกมจะกำลังประสบปัญหาฐานผู้เล่นลดลงกว่า 20% ในรอบ 2 ปี แต่ด้วยจำนวนผู้เล่นเดือนพฤษภาคมที่ 188 ล้านคน หรือ 12 ล้านคนต่อวัน ก็ยังไม่พอจะมาล้มความนิยมของเกมได้

Apex Legends โลโก้

Apex Legends

ถึงแม้ว่า Electronic Arts หรือ EA จะเป็นบริษัทที่เกมเมอร์หลายคนรังเกียจ แต่ก็ต้องยอมรับว่า Apex Legends ถือเป็นผลงานที่โดดเด่นมากในรอบ 5 ปีให้หลังของบริษัท ที่ได้ร่วมมือกับผู้พัฒนาเจ้าของผลงาน Titanfall อย่าง Respawn Entertainment ลักษณะเด่นที่ไม่เหมือนใครของเกมคือขนาดผู้เล่นที่เล็กกว่าเกมอื่น ๆ ที่ประมาณ 60 คนต่อ 1 เกม ทำให้เกมดำเนินอย่างรวดเร็วและสร้างการเผชิญหน้าระหว่างผู้เล่นมากขึ้น และถึงแม้ฐานผู้เล่นของเกมจะน้อยกว่าคู่แข่งเกมอื่น ๆ ที่ประมาณ 65 ล้านคนต่อเดือน เกมก็กำลังเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปและน่าติดตามในอนาคต

FIFA 24

EA FC 24/FIFA24 เป็นเกมฟุตบอลเรือธงของค่าย EA และประเทศตะวันตกก็จริง แต่สำหรับประเทศในเอเชียอย่างเรา ต้องบอกว่า FIFA Online ถือเป็นแฟรนไชส์เกมที่ได้รับความนิยมกว่ามาก เนื่องจากเป็นเกม free-to-play ที่ขยันทำคอนเทนต์รองรับรายการแข่งขันชีวิตจริง อาทิ ฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 หรือ UEFA Champions League ในปีต่าง ๆ ทำให้ตัวเกมมีความสดใหม่ทันสมัยอยู่เสมอ

พัฒนาการของอีสปอร์ตในประเทศไทย

เกมเมอร์ชาวไทยมีโอกาสได้ลิ้มลองบรรยากาศการเล่นเกมออนไลน์มาพร้อมกับเกมเมอร์จากทั่วโลก แต่อีสปอร์ตถือเป็นสิ่งที่คนไทยไม่เข้าใจมาโดยตลอด เนื่องจากยังคงยึดถือค่านิยมเดิมว่ากีฬาจะต้องเป็นกิจกรรมที่อาศัยการออกกำลังของร่างกาย ซึ่งการนั่งเล่นเกมหน้าคอมพิวเตอร์หรือเกมมือถือนั้นดูจะไม่เข้ากับคำจำกัดความนั้นสักเท่าไหร่ จนมาถึงปี 2013 ที่ได้มีการก่อตั้ง “สมาคมไทยอีสปอร์ต” ขึ้นมาเพื่อเป็นหน่วยงานที่รวบรวมนักกีฬาอีสปอร์ตเข้ามาด้วยกันเพื่อสร้างโมเมนตัมในการต่อรองกับทางภาครัฐและสร้างโอกาสให้นักกีฬาอีสปอร์ตไทยได้ไปโลดแล่นในเวทีการแข่งขันระดับโลก โดยสมาคมก็ได้พยายามส่งเสริมนักกีฬาไทยและผลักดันให้ภาครัฐ โดยเฉพาะการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้การยอมรับอีสปอร์ตว่าเป็นชนิดกีฬาตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อทำให้มีกฎหมายรับรองและคุ้มครองนักกีฬาและผู้ลงทุน จนในวันที่ 10 ตุลาคม 2017 การกีฬาแห่งประเทศไทยก็ได้รับรองให้อีสปอร์ตเป็นชนิดกีฬาตามกฎหมาย ซึ่งทำให้วงการอีสปอร์ตเติบโตขึ้นอย่างมากและสร้างเม็ดเงินได้เกือบ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือมากกว่า 200 ล้านบาทในปี 2022

นับแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศไทยก็ได้ส่งนักกีฬาอีสปอร์ตเข้าร่วมการแข่งขันมากมายทั้งในนามทีมสโมสรหรือนามทีมชาติในรายการแข่งขันระดับภูมิภาคและระดับโลก นักกีฬาอีสปอร์ตไทยได้คว้ารางวัลมากมายเป็นชื่อเสียงเกียรติยศแก่ประเทศ ทั้งเหรียญทองซีเกมส์ 4 เหรียญ เหรียญเงินซีเกมส์ 3 เหรียญ และเหรียญทองแดงซีเกมส์อีก 5 เหรียญ

เกมอีสปอร์ตชั้นนำของประเทศไทย

เมื่อพิจารณาจากจำนวนนักกีฬาอีสปอร์ตมืออาชีพในประเทศไทยแล้ว พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักกีฬาอีสปอร์ตมืออาชีพมาแล้วทั้งหมด 1,926 คนทั้งในรายการในประเทศและระหว่างประเทศ พร้อมกับคว้าเงินรางวัลมาแล้วรวมกันทั้งหมดกว่า 22.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 790 ล้านบาท สำหรับเกมที่ทำรายได้ให้นักกีฬาอีสปอร์ตมืออาชีพชาวไทยมากที่สุดแตะหลัก 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (35 ล้านบาท) ล้วนประกอบด้วย 6 เกมฟอร์มยักษ์ ได้แก่ 

  • Arena of Valor ที่ 5.6 ล้านดอลลาร์หรือ 195 ล้านบาท
  • PUBG Mobile ที่ 3.3 ล้านดอลลาร์หรือ 115.5 ล้านบาท
  • Free Fire ที่ 3.3 ล้านดอลลาร์หรือ 115.5 ล้านบาท
  • PUBG ที่ 2 ล้านดอลลาร์หรือ 70 ล้านบาท
  • DOTA 2 ที่ 1.7 ล้านดอลลาร์หรือ 60 ล้านบาท และ 
  • FIFA Online 4 ที่ 1 ล้านดอลลาร์หรือ 35 ล้านบาท 

หากพิจารณาจากจำนวนนักกีฬาอีสปอร์ตทีมชาติไทยในรายการซีเกมส์ปี 2019, 2021, และ 2023 ปรากฎว่าในปี 2019 สมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทยส่งรายชื่อนักกีฬาอีสปอร์ตทั้งหมด 24 คนเพื่อลงแข่ง 6 เกม ในปี 2021 ส่งรายชื่อ 51 คนเพื่อลงแข่ง 10 เกม และในปี 2023 ส่งรายชื่อ 15 คนเพื่อลงแข่ง 2 เกม

เปิดตัวและเปิดรายได้นักกีฬาอีสปอร์ตชั้นนำของประเทศไทย

เว็บไซต์ esportsearnings ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวบรวมข้อมูลด้านรายได้ของเกมอีสปอร์ตและนักกีฬาอีสปอร์ตในแต่ละประเทศได้ระบุชื่อนักกีฬาอีสปอร์ตชาวไทยที่เคยได้รับเงินรางวัลจากการแข่งขันทั้งในและนอกประเทศมากที่สุด 500 คนแรกเอาไว้ โดยมีข้อมูลตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปัจจุบัน รายชื่อของนักกีฬาอีสปอร์ตที่ได้รับเงินรางวัลมากที่สุดของประเทศไทย 5 คนแรก ได้แก่

  1. อนุชา “Jabz” จิระวงศ์ นักกีฬา DOTA 2 มืออาชีพที่เคยลงแข่งขันในรายการระดับโลกอย่าง The International มาแล้ว 4 สมัยและกวาดเงินรางวัลเข้ากระเป๋าไปแล้วกว่า 818,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 28.6 ล้านบาทจากรายการแข่งขันทั้งหมด 82 รายการ
  2. หนึ่งนรา “23savage” ธีรมหานนท์ นักกีฬา DOTA 2 มืออาชีพที่เคยลงแข่งขันในรายการระดับโลกอย่าง The International 2 สมัยและคว้าแชมป์รายการ ESL One Summer 2021 เขาสามารถทำเงินรางวัลไปได้แล้ว 385,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 13.4 ล้านบาทจากการแข่งขันทั้งหมด 37 รายการ
  3. ปิยะพล “TheCruz” บุญช่วย นักกีฬา Free Fire มืออาชีพเจ้าของแชมป์รายการ Free Fire World Series 2 สมัยที่เข้าสู่วงการอีสปอร์ตตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยจากการแข่งขันเพียง 17 รายการ ปิยะพลสามารถทำเงินไปได้แล้วกว่า 378,000 ดอลลาร์หรือประมาณ 13.23 ล้านบาท
  4. จีระศักดิ์ “Joena” มูลสาร นักกีฬา Free Fire มืออาชีพเจ้าของแชมป์รายการ Free Fire World Series 2 สมัยและเพื่อนร่วมทีมของปิยะพล จีระศักดิ์เข้าสู่วงการตอนอายุเพียง 13 ปีและคว้าเงินรางวัลไปได้แล้วกว่า 371,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 13 ล้านบาทจากการแข่งขัน 18 รายการ
  5. เมธาสิทธิ์ “Moowan” ลีลาพิพัฒน์กุล นักกีฬา Arena of Valor เจ้าของแชมป์รายการ RoV Pro League ไทย 5 สมัยและเจ้าของแชมป์ Arena of Valor Premier League 2022 โดยคว้าเงินรางวัลมาครองได้แล้วกว่า 288,000 ดอลลาร์หรือประมาณ 10 ล้านบาทจากการแข่งขัน 18 รายการ

ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับวงการอีสปอร์ตประจำปี 2023

สำหรับผู้คนที่ยังไม่รู้จักดีว่าวงการอีสปอร์ตมีอิทธิพลมากเพียงไรต่อผู้คนและธุรกิจทั่วโลก ข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความยิ่งใหญ่ของอุตสาหกรรมอีสปอร์ตและความสามารถในอนาคตของมัน

อุตสาหกรรมอีสปอร์ตทำเงินได้มากขนาดไหน?

เงินในอุตสาหกรรมอีสปอร์ตปรากฎในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นเงินรางวัลที่นักกีฬามืออาชีพได้รับจากการเข้าแข่งขันในรายการต่าง ๆ หรือจะเป็นเม็ดเงินจากผู้สนับสนุน จากการขายสินค้า หรือจากการถ่ายทอดสดบนสื่อต่าง ๆ ก็ตาม

เกมสร้างเม็ดเงิน

DOTA 2 ยังคงครองตำแหน่งเกมที่มีมูลค่าต่อวงการอีสปอร์ตสูงที่สุดเมื่อพิจารณาจากเม็ดเงินรางวัลจากทุกรายการแข่งขัน โดยรายการแข่งขัน DOTA 2 ทุกรายการในปี 2022 มีเม็ดเงินรางวัลรวมกันถึง 32.85 ล้านดอลลาร์หรือ 1,100 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าอันดับ 2 อย่าง Arena of Valor เพียง 120,000 ดอลลาร์ (4.2 ล้านบาท) เท่านั้น และต่อให้จะเริ่มคิดตั้งแต่ระยะเเรกเริ่ม DOTA 2 ก็ยังคงครองตำแหน่งแชมป์ด้วยเม็ดเงินรางวัลรวมกันสูงถึง 290 ล้านดอลลาร์ (10,150 ล้านบาท) ซึ่งได้รับการแจกจ่ายให้กับผู้เล่นกว่า 4,400 คนที่เข้าร่วมการแข่งขันเกือบ 1,700 รายการ

เศรษฐีอีสปอร์ต

นับจนถึงเดือนมกราคม 2023 มีนักกีฬาอีสปอร์ตมืออาชีพ 147 คนที่สามารถทำเงินรางวัลได้เกิน 1 ล้านดอลลาร์หรือ 35 ล้านบาท แต่มีเพียง 6 คนเท่านั้นที่ทำเงินได้เกิน 5 ล้านดอลลาร์หรือ 175 ล้านบาท แต่ไม่มีใครทำเงินได้มากกว่า Johan “N0tail” Sundstein แชมป์เมเจอร์ 4 รายการสัญชาติเดนิชวัย 29 ปีที่สามารถทำเงินรางวัลได้มากกว่า 7 ล้านดอลลาร์หรือ 245 ล้านบาท

ภูมิภาคไหนในโลกเล่นอีสปอร์ตเยอะที่สุด?

จากข้อมูลในปี 2022 พบว่าสหรัฐอเมริกามีนักกีฬาอีสปอร์ตมืออาชีพมากที่สุดในโลกที่จำนวน 3,731 คน มากกว่าอันดับสองอย่างจีนอยู่เท่าตัว โดยจีนมีนักกีฬาอีสปอร์ตมืออาชีพ 1,710 ตามมาด้วยบราซิลที่ 1,380 คน เกาหลีใต้ที่ 1,041 คน และฝรั่งเศส 1,020 คน ในขณะที่ประเทศไทยปรากฎรายชื่อนักกีฬาอีสปอร์ตที่ 668 คน
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากรายได้ตั้งแต่เเรกเริ่มเก็บสถิติ พบว่านักกีฬาอีสปอร์ตชาวจีนสามารถทำรายได้จากรายการแข่งขันไปแล้วเกือบ 250 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 8,750 ล้านบาทจากจำนวนผู้เล่น 7,529 คน สามารถเอาชนะสหรัฐอเมริกาที่มีผู้เล่นมากเกือบ 25,000 คนไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ

อุตสาหกรรมอีสปอร์ตเติบโตอย่างไรบ้าง?

มูลค่าทางการตลาด

ในปี 2022 วงการอีสปอร์ตโลกมีมูลค่ารวมกันกว่า 1,390 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 48,650 ล้านบาทซึ่งถือว่ามาแรงจนสามารถเอาชนะสภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากโควิด-19 ได้อย่างราบคาบ และมีการคาดการณ์ว่าวงการอีสปอร์ตโลกจะมีมูลค่ามากถึง 6,750 ล้านดอลลาร์หรือกว่า 236,250 ล้านบาทภายในปี 2030

สัดส่วนมูลค่า

มูลค่าโดยส่วนใหญ่ของวงการอีสปอร์ตมาจากเงินโฆษณาและค่าสปอนเซอร์ที่ประมาณ 641 ล้านดอลลาร์ (22,000 ล้านบาท) ซึ่งคิดเป็นเม็ดเงินกว่า 64% ของมูลค่าทั้งหมด ตามมาด้วยลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดและเผยแพร่ผ่านสื่อรูปแบบต่าง ๆ ที่ประมาณ 20% ตามมาด้วยค่าเผยแพร่ที่ 13% ค่าสินค้าและตั๋วการแข่งขันที่ 7% และในส่วนที่เหลือประกอบด้วยมูลค่าจากการสตรีมและสินค้าดิจิตอล

รวมทีมอีสปอร์ตระดับตำนาน

เช่นเดียวกับทุกกีฬา วงการอีสปอร์ตก็เต็มไปด้วยการรวมตัวกันของเกมเมอร์ระดับตำนานที่สร้างผลงานอันน่าจดจำในหลากหลายการแข่งขัน นี่คือรายชื่อทีมที่เป็นสถาบันสุดศักดิ์สิทธิ์และมีมนตร์ขลังแห่งวงการอีสปอร์ต

Faze โลโก้

FaZe

FaZe Clan มีชื่อเสียงในด้านการสร้างคอนเทนต์ระดับปฏิวัติวงการและสมาชิกองค์กรที่มีชื่อเสียงและความสามารถ FaZe เป็นผู้บุกเบิกในโลกของกีฬาอีสปอร์ต ที่ดึงดูดยอดพรสวรรค์จากทุกแนวเกมที่หลากหลายเข้ามาอยู่ในชายคาเดียวกัน FaZe ได้รวมตัวเองเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม เชื่อมช่องว่างระหว่างเกมและความบันเทิงกระแสหลักจนสามารถสร้างรายได้กว่า 400 ล้านดอลลาร์

Liquid โลโก้

Team Liquid

Team Liquid เป็นที่เคารพในชั้นเชิงการวิเคราะห์และกลยุทธ์ที่เหนือระดับ และสามารถครองตำแหน่งอยู่ในระดับแนวหน้าของวงการเกมได้อย่างต่อเนื่อง Team Liquid คอยขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเชิงลึกอยู่เสมอเพื่อผลักดันพัฒนาการของผู้เล่นและเสริมสร้างความมุ่งมั่นอย่างไม่เปลี่ยนแปลงเพื่อความเป็นเลิศในสนามแข่ง

Cloud9 โลโก้

Cloud9

Cloud9 มีบุคลิกที่กล้าหาญและมีเสน่ห์ สะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณของการผจญภัยและความไม่แน่นอนในเวทีอีสปอร์ต ความสามารถพิเศษในการใช้กลยุทธ์แปลกพิกลและการโกงความตายพลิกกลับมาเอาชนะนับครั้งไม่ถ้วนอย่างน่าตื่นเต้นทำให้ Cloud9 สามารถสร้างความประทับใจให้กับแฟน ๆ ทั่วโลกและได้รับชื่อเสียงในฐานะม้ามืดอันดับหนึ่งของวงการ

100Thieves โลโก้

100 Thieves

100 Thieves มีจุดเด่นแตกต่างไปจากองค์กรอีสปอร์ตแบบดั้งเดิมทั่ว ๆ ไปเพราะพวกเขาได้สร้างเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครด้วยการผสมผสานความสามารถในการเล่นเกมเข้ากับแบรนด์ไลฟ์สไตล์ที่ก้าวล้ำนำแฟชั่น ด้วยการมุ่งเน้นไปที่เครื่องแต่งกายที่มีสไตล์ การสร้างคอนเทนต์ที่น่าดึงดูดใจ และความสำเร็จในการแข่งขัน ทำให้ 100 Thieves สามารถก้าวข้ามขอบเขตของกีฬาอีสปอร์ตและดึงดูดฐานแฟน ๆ ที่หลากหลายและเปี่ยมแพชชั่น

Fnatic โลโก้

Fnatic

Fnatic มีประวัติสืบทอดมาอย่างยาวนานและมีชื่อเสียงระดับนานาชาติและสะท้อนถึงความเป็นเลิศด้านอีสปอร์ตระดับชั้นนำของโลก โดย Fnatic มีชื่อเสียงในด้านการบ่มเพาะพรสวรรค์อันน่าทึ่งและส่งเสริมนวัตกรรมล้ำสมัย Fnatic ยังคงผลักดันกรอบการแข่งขันในเกมการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง และโชว์ฟอร์มสุดน่าประทับใจอย่างไม่ขาดตอนซึ่งไม่เพียงแค่ดึงดูดใจแฟน ๆ ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ แต่ยังเป็นการย้ำสถานะอันแข็งแกร่งของ Fnatic ในฐานะทีมอีสปอร์ตระดับตำนาน

รวมรายการแข่งขันอีสปอร์ตระดับขึ้นหิ้ง

โลโก้ของ "The International" DOTA 2 Championship

The International

การแข่งขันระดับนานาชาติถือเป็นจุดสูงสุดของการแข่งขัน Dota 2 โดยรวบรวมทีมที่มีทักษะมากที่สุดในโลกมาประลองกันครั้งยิ่งใหญ่ ด้วยเงินรางวัลรวมที่หาตัวจับยาก สูงถึง 40 ล้านดอลลาร์หรือ 1,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินจากการสนับสนุนของชุมชน Dota 2 ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ร่วมและเเรงศรัทธา ทัวร์นาเมนต์นี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ของวงการอีสปอร์ต โดยเป็นการผสมผสานรูปแบบการเล่นที่เข้มข้นเข้ากับความตื่นเต้นของการเดิมพันจำนวนมหาศาล

รูปภาพของเวที LoL world championship

League of Legends World Championship (Worlds)

League of Legends World Championship เป็นการรวบรวมทีม League of Legends ที่ดีที่สุดจากทั่วโลก ด้วยมูลค่าการผลิตที่น่าทึ่ง บรรยากาศที่น่าตื่นตา และมรดกแห่งช่วงเวลาที่ยากจะลืมเลือน Worlds ดึงดูดผู้ชมหลายล้านคน ครองตำแหน่งแชมป์โลกคนใหม่ และกำหนดภูมิทัศน์การแข่งขัน League of Legends ในแต่ละปี นอกจากนี้ในปี 2022 รายการ Worlds ยังถือเป็นทัวร์นาเมนต์อีสปอร์ตที่มียอดผู้เข้าชมสูงสุดในโลก โดยในช่วงสูงสุดมีผู้เข้าชมไลฟ์สตรีมมากกว่า 5 ล้านคนจากทั่วโลก

รูปภาพของเวที CSGO Major

CSGO Major

CSGO Majors คือจอกศักดิ์สิทธิ์ของการแข่งขัน Counter-Strike: Global Offensive รวบรวมทีมที่ดีที่สุดมารวมกันในการต่อสู้ที่มีเดิมพันสูงเพื่อชัยชนะ กิจกรรมอันทรงเกียรติเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงระดับสูงสุดของการเล่นเกมยุทธวิธี ทักษะที่น่าทึ่ง และเนื้อเรื่องที่น่าทึ่ง ดึงดูดใจแฟนๆ และทำให้ CSGO เป็นหนึ่งในฉากอีสปอร์ตที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดที่สุด

PUBG Mobile Global Championship โลโก้

PUBG Mobile Global Championship

PUBG Mobile Global Championship นำเสนอโลกแห่งการต่อสู้ที่น่าตื่นเต้นบนอุปกรณ์พกพา ทัวร์นาเมนต์นี้นำผู้เล่นชั้นยอดจากทั่วโลกมารวมกัน การประลองยุทธ์ที่ดุเดือด การซ้อมรบเชิงกลยุทธ์ และช่วงเวลาที่หัวใจเต้นแรง พิสูจน์ให้เห็นว่าเกมมือถือเป็นพลังที่ต้องคำนึงถึงในวงการกีฬาอีสปอร์ต

ภาพของเวที Free Fire World Series

Free Fire World Series

Free Fire World Series นำเสนอแพลตฟอร์มที่น่าตื่นเต้นสำหรับผู้เล่นที่ดีที่สุดของ Garena Free Fire เพื่อแข่งขันเพื่ออำนาจสูงสุด ด้วยรูปแบบการเล่นที่ฉับไว กลไกที่ไม่เหมือนใคร และการต่อสู้ที่เข้มข้น ทัวร์นาเมนต์นี้รวบรวมแก่นแท้ของเกมตระกูล Battle Royale บนมือถือ ดึงดูดผู้ชม และแสดงทักษะพิเศษของผู้เข้าร่วมบนเวทีระดับโลก

คำถามน่าสนใจเกี่ยวกับอีสปอร์ต

อีสปอร์ตย่อมาจากคำว่า “กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic sport)” ซึ่งหมายถึงการแข่งขันวิดีโอเกมที่ผู้เล่นมืออาชีพและทีมแข่งขันกันเองในวิดีโอเกมต่างๆ

การเป็นผู้เล่นอีสปอร์ตมืออาชีพต้องอาศัยพรสวรรค์ ความทุ่มเท การฝึกฝน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการแข่งขันเพื่อให้ได้รับการยอมรับและดึงดูดความสนใจจากองค์กรหรือทีมอีสปอร์ต

เกมอีสปอร์ตยอดนิยมในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ League of Legends, Dota 2, Counter-Strike: Global Offensive, Fortnite, Overwatch และ Valorant

รายการอีสปอร์ตโดยทั่วไปจะมีทีมหรือผู้เล่นมาแข่งขันกันในสถานที่เดียวโดยใช้อุปกรณ์และเครือข่ายที่ทางผู้จัดการแข่งขันหามาให้เพื่อป้องกันการโกง เอง รายการอาจมีการแบ่งกลุ่มหรือการคัดผู้แพ้ออกตามความเหมาะสมจนกว่าจะได้ผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียว

รายได้สำหรับผู้เล่นอีสปอร์ตมืออาชีพอาจแตกต่างกันมาก ผู้เล่นระดับต้น ๆ ของโลกสามารถสร้างรายได้หลายล้านดอลลาร์ผ่านเงินรางวัลการแข่งขัน ผู้สนับสนุน รายได้จากการสตรีม และการขายสินค้า

การแข่งขันอีสปอร์ตบางรายการอาจมีการจำกัดอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับรายการที่มีรางวัลรวมจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีรายการและลีกที่ออกแบบมาสำหรับผู้เล่นอายุน้อยโดยเฉพาะ เช่น รายการสำหรับเกมมือถืออย่าง Free Fire หรือ PUBG Mobile

อีสปอร์ตได้รับการยอมรับว่าเป็นรูปแบบการแข่งขันที่ถูกต้องโดยองค์กรกีฬาหลายแห่ง และได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้คนถกเถียงเรื่องการจำแนกประเภทของกีฬาอยู่เรื่อย ๆ เนื่องจากมองว่าการเล่นเกมไม่ถือเป็นกีฬาในความหมายของการออกกำลังกาย

การแข่งขันอีสปอร์ตมักจะถ่ายทอดสดบนแพลตฟอร์มการสตรีมเช่น Twitch, YouTube และเว็บไซต์เฉพาะด้านอีสปอร์ตอื่นๆ การแข่งขันหลายรายการจะมีผู้ชมสดเข้าร่วมด้วยนับล้านคน

มีเส้นทางอาชีพที่หลากหลายในอีสปอร์ตนอกเหนือจากการลงแข่งขันเป็นนักกีฬา คุณสามารถมีอาชีพเป็นโค้ช ผู้จัดการทีม นักวิเคราะห์ นักพากย์เสียง ผู้จัดงาน ผู้สร้างเนื้อหา หรือทำงานด้านการตลาดและการหาผู้สนับสนุนก็ยังได้

ผู้ที่อยากจะก้าวขึ้นเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตมืออาชีพจะต้องหมั่นฝึกฝนเป็นประจำและสม่ำเสมอ พร้อมเรียนรู้ผ่านการวิเคราะห์เกมเพลย์และกลยุทธ์ของผู้เล่นมืออาชีพ ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจก็สามารถขอความคิดเห็นและคำแนะนำจากผู้เล่นหรือโค้ชที่มีประสบการณ์ รวมถึงเข้าร่วมการแข่งขันออนไลน์หรือรายการแข่งขันในระดับเล็กก่อนเพื่อรับประสบการณ์สำหรับผู้เเรกเริ่ม